วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น

 

คำถามของนักศึกษาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนสอน

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในประเด็นใด ๆ ก็ได้ลงในบล็อก

จุดเด่น

๑. ทำให้การเรียนการสอนน่าเรียนมากขึ้น
๒. ช่วยให้การเรียนการสอนมีสีสันในการเรียนมากขึ้น
๓. เป็นการสอนที่ทันสมัยเหมาะกับยุคสมัยนี้มาก
๔. สามารถนำ weblog มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
๕. สามารถนำ weblog ไปใช้และทำสื่อเวลาไปฝึกสอนและในการสอนในอนาคตได้
๖. เป็นการเก็บข้อมูลที่เราอยากให้ใครเข้าไปดูเพื่อที่จะเผยแพร่ได้
๗. การใช้ weblog เหมาะสำหรับครูพันธ์ใหม่อย่างข้าพเจ้าเป็นที่สุด
๘. การสอนแบบที่ใช้ weblog เป็นการสอนที่ไม่น่าเบื่อ มีความสุขในการเรียน
จุดด้อย
๑. การทำ weblog ต้องใช้อินเตอร์เน็ตถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่มีจึงไม่สามารถที่จะทำงานได้
๒. การทำ weblog ไม่ค่อยที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนในวิชาการจัดการในชั้นเรียน
๓. การทำ weblog การลงข้อมูลต้องใช้เวลาในการตกแต่งมาก

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๙

 

ปัญหาวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการศึกษา
เด็กวัยรุ่นอายุ ๑๖-๑๘ ปี ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาไม่รับการศึกษาต่อ ลาออกจากโรงเรียนโดยมีปัจจัยจากปัญหาดังกล่าวคือ เด็กมีการสูบบุรี่ มีคนแย่ๆ ในโรงเรียน เพื่อนมีอิทธิพลในโรงเรียน ทำตามคำชักชวนของเพื่อนๆ เด็กติดยา เด็กมีปัญหาส่วนตัว และเกิดจากแรงจูงใจ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแต่ก็มีปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อนักเรียนเช่นกันโดยเมื่อเราสรุปปัญหาเหล่านี้แล้วเราสามารถสรุปออกเป็น ๒ ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ปัญหาจากครอบครัว และปัญหาทางโรงเรียน เมื่อมีปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาแล้วทำให้เด็กวัยรุ่นไม่มีงานทำได้มีศูนย์ช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นเหล่านี้ขึ้นมาจัดทำโครงการศึกษาเยาวชนท้องถิ่นขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของเด็กวัยรุ่น เพื่อให้เด็กวัยรุ่นเหล่านี้มีงานทำและมีศูนย์ช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่เด็กวัยรุ่นเหล่านี้ในทุกๆ เรื่อง
การเตรียมตัวออกไปสังเกตการณ์สอน
ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งก็มาจากตัวครู เช่น ครูไม่สนใจนักเรียน ครูไม่ให้กำลังใจนักเรียนทำให้นักเรียนขาดความนับถือในตัวครู หากเราไปสังเกตการเรียนการสอนในโรงเรียนนี้เราต้องเข้าหานักเรียนถามทุกข์ สุข ของนักเรียนว่าเป็นอย่างไรบ้าง และถ้าหากว่านักเรียนคนไหนมีปัญหาแต่ก็ไม่กล้าบอกก็คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ห่างๆ และให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านั้นอย่างจริงจัง
คุณสมบัติที่ดีของครู ๑๐ ประการ
๑. ความมีระเบียบวินัย
๒. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม
๓. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ
๔. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
๕. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมี
๖. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
๙. ความภาคภูมิใจและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของโลก
๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน
ทำให้เกิดกับนักศึกษาอย่างไร
นำคุณสมบัติที่ดีของครู ๑๐ ประการ มาปรับใช้กับตัวเราเมื่อเราทำคุณสมบัติที่ดีของครูที่ ๑๐ ประการนี้ได้ เรามั่นใจได้เลยว่า เราจะต้องเป็นครูที่ดีได้แน่นอน
๒๖  มกราคม  ๒๕๕๔ สานสัมพันธ์น้องพี่เอกไทย ประกวดเดอะสตาร์



วิชาการ ‘๕๓ ๑๑/๐๒/๒๕๕๔




กิจกรรมที่ ๘

 


 เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวทางพัฒนาองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
ตอบ  วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ ๒๐
ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ ๒๐ จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล ๒๕๒๘ อ้างจาก Henry L. Tosi)
๑. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
๒. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
๓. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบกลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จะเห็นได้ว่าหากผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างมีความชัดเจน วัฒนธรรมดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและได้รับการดูแลให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้นำซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การแต่ยังไม่มีความชัดเจนในวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างขึ้น กรณีนี้ผู้นำจะให้ความสนใจต่อการกำหนดทิศทางของ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
กรณีศึกษาของประเทศไทย
สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน

กิจกรรมที่ 7

 

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

                    บทความเรื่อง การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

กิจกรรมที่ ๖

 



การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

ครูมืออาชีพคือครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจ และตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น  หากแต่ต้องมีการสร้างสรรค์ และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วย เช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
๑.การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อย ถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
๒.นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง
วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ ยึดหลักดังต่อไปนี้
๑. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
๒. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
๓. หลักพรหมวิหาร ๔ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
๔. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับนักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
๔.๑ ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
๔.๒ ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
๔.๓ ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
๔.๔ ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการมาเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ

กิจกรรมที่ ๕

 

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า ต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
มีใครเคยสงสัยไหมว่าต้นแบบคืออะไร ทำไมต้องมีครูต้นแบบ เกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยาก ซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกัน จนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ? แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง ๕% ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชู เผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบ จะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ ต้นแบบ
เป็นโอกาสดีของผู้เขียนได้ไปร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า กับรองศาสตราจารย์ บุญนำ ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๑๐๑ ปี ณ อาคาร ๓ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ มีวิทยากรที่ทรงคุณงามความดี ความรู้ ภูมิปัญญาชั้นนำของประเทศหลายท่าน และมีท่านหนึ่งได้พูดเรื่อง ต้นแบบว่า พระมหากษัตริย์ของเรามี ต้นแบบที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตย์ในดวงใจของปวงชนชาวไทย นั่นคือ สมเด็จย่าแม้ว่าสมเด็จย่า จะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ว วิทยากรที่กล่าวถึงคือ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี ๒ นัย
นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบได้เห็นได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน    จริงอยู่ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้ คนดี คนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบแต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลว ได้ชัดเจนต้องมีวุฒิภาวะเพียงใด เยาวชนของเราบางคนยังมีวุฒิภาวะไม่ถึงพร้อม โดยเฉพาะถ้าเห็นตัวแบบนั้นเป็นครู เป็นพ่อ แม่ เขายิ่งอาจสับสนว่าเขาควรเลียนแบบอย่างที่เห็น ใช่หรือไม่
พวกเราชาวครูทั้งหลาย คงทราบแล้วว่า ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมา ทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครู และสังคมเพียงใด
ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบ พวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหน ท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัว ท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก             สำหรับบางท่าน แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบ แม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว ท่านไม่ได้รับเลือก   แต่ท่านอาจเป็นแรงบันดาลใจ
เป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆ ที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่านว่า คุณครูเงยหน้าดูพวกเขาสิ  !!!
บทความของ  บรรเจอดพร   รัตนพันธุ์  คณะทำงาน รมช.ศธ
อ้างอิงมาจาก "ต้นแบบแห่งการเรียนรู้"[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
http://www.moe.go.th/main2/article/learn_original.htm เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ดร.
ต้นแบบว่ามี ๒ นัย นัยแรกคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมายแค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหนนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการพัฒนาตนเอง
นำมาพัฒนาในตนเองก็คือ เมื่อจะเป็นครูจะปฎิบัติตัวให้เหมาะสม ปฎิบัติตนให้ดี ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิทย์และบุคคลทั่วไป และจะพยายามดูแบบอย่างที่ดีจากคนอื่นด้วย เพื่อมาปรับปรุงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตัวของข้าพเจ้า

กิจกรรมที่ ๔

 

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต แต่สำหรับผมแล้วผมกลับเห็นว่าการสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่าแม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ววิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว
คำถามที่ตามมาก็คือ "ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร" หากจะกล่าวโดยรวมแล้วศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป โดยหลักใหญ่ๆแล้วการที่คนผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่เหนือ หรือโดดเด่นอยู่บ้าง เช่น อาจจะโดดเด่นในเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ หรือความรู้ความสามารถ ซึ่งคนทั่วไปก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป บางคนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ในขณะที่บางคนกลับให้ความสำคัญกับเรื่องความรู้ความสามารถเป็นหลัก
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" หากเราลองนึกถึงผู้นำในดวงใจของเรามาสัก 2-3 คน และลองพิจารณาถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้ให้ของผู้นำในดวงใจที่เราเลือกมา ก็จะพบว่าส่วนใหญ่มักจะมีคุณสมบัติที่ว่านี้ค่อนข้างชัดเจน เราจะพบว่า ผู้นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ
      หากท่านตั้งคำถามว่าในโลกนี้มีคนประเภทที่กล่าวมานี้ด้วยหรือ คำตอบก็คือ "มี" เพราะเราก็ยังคงพบเห็นคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่ว่าในปัจจุบันอาจจะมีให้เห็นไม่มากนัก เพราะผู้นำที่เราพบกันโดยทั่วไปมักจะเป็นผู้นำที่มาโดยตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่ การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้" นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ Ralph Emerson นักปรัชญาชาวอเมริกันได้กล่าวถึงสมดุลของการให้และการรับไว้ว่า "ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ" และด้วยอมตะวาจานี้เราจึงพบว่า ผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไรๆ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็มิได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เข้าทำนองที่ว่า "ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ" ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือศรัทธาอันเป็นผลเนื่องมาจากความสามารถที่จะ "ซื้อใจ" ผู้ตามได้นั่นเอง
เรียบเรียงจากบทความที่เขียนลงหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ e-Motion
เมื่อวันที่ 8-15 ตุลาคม 2544

ขอบคุณบทความจาก: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๓

 

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


ประวัติของผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี
ชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตำแหน่งปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๗ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วันเกิด ๓  สิงหาคม ๒๕๐๗ อายุ ๔๖ ปี บิดา ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกราชบัณฑิตยสถาน มารดา ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ คู่สมรส ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตร-ธิดา น.ส.ปราง และ นายปัณณสิทธิ์ ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มัธยมศึกษา วิทยาลัยอีตัน ประเทศอังกฤษ ปริญญาตรี ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๔๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๓๘-๒๕๔๐ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๘ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง(รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
ปี ๒๕๓๘-๒๕๓๙  ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๔  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๘  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๙  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙/ ๒๕๕๑ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๘-ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๕๐-ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ธ.ค. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ปี ๒๕๓๕ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
ปี ๒๕๓๖ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ปี ๒๕๓๗ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
ปี ๒๕๔๐ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ปี ๒๕๔๑ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ปี ๒๕๔๒ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผลงานทางการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้พื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตาบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔๓ โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง
การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา ๗ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๕ เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยอ้างอิงความตามมาตรา ๗ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ข้อเสนอของ   นายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า มาร์คถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า มาร์ค ม.๗ในการเลือกตั้งวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ คดียุบพรรคและศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง ๓  คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน ๒๓๕ เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน ๑๙๘ เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง สำหรับผลการโหวตที่น่าสนใจ คือ พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ซึ่งภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือ นายอภิสิทธิ์ แสดงความยินดีด้วย
สำหรับ ส.ส.ในสังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
- นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต ๒ บุรีรัมย์
- นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.เขต ๑ พิษณุโลก
- นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.เขต ๔ บุรีรัมย์
- นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.เขต ๓ ขอนแก่น
- นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.เขต ๕ นครราชสีมา
            - นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.เขต ๖ นครราชสีมา
            - นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.เขต ๑ นครพนม
           - นายวีระ รักความสุข ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
            - นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
            - นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๔
            - นางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เขต ๑ เลย
- นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.เขต ๑ อุดรธานี
- นายสุชาติ โชคชัยวัฒนาการ ส.ส.เขต ๒ มหาสารคาม
- นายประจักษ์ แก้วกล้าหาญ ส.ส.เขต ๑ ขอนแก่น
- นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส.ส.เขต ๑ อำนาจเจริญ
- ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ งดออกเสียง โดยระบุว่า เพื่อความเป็นกลาง
ผลงานหนังสือมาร์ค เขาชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. ๒๕๔๘, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๙๓๓๕๘--๙ การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๘๑๙๕--๘ เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๗๓๑๐-๖๖-๕ ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๔๙๔-๘๑-