ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
๑. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
๒. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
๓. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
๔. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ
๑. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
๒. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
๓. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
๔. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ
ประวัติของผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี
ชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตำแหน่งปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๗ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วันเกิด ๓ สิงหาคม ๒๕๐๗ อายุ ๔๖ ปี บิดา ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกราชบัณฑิตยสถาน มารดา ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ คู่สมรส ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตร-ธิดา น.ส.ปราง และ นายปัณณสิทธิ์ ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มัธยมศึกษา วิทยาลัยอีตัน ประเทศอังกฤษ ปริญญาตรี ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔
ประวัติการทำงาน ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๔๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๓๘-๒๕๔๐ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๘ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง(รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
ปี ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๔ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๘ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๙ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙/ ๒๕๕๑ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๘-ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๕๐-ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ธ.ค. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ปี ๒๕๓๕ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
ปี ๒๕๓๖ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ปี ๒๕๓๗ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
ปี ๒๕๔๐ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ปี ๒๕๔๑ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ปี ๒๕๔๒ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผลงานทางการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้พื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตาบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔๓ โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง
การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา ๗ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๕ เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยอ้างอิงความตามมาตรา ๗ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ข้อเสนอของ นายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า “มาร์ค” ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า “มาร์ค ม.๗″ในการเลือกตั้งวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “คดียุบพรรค” และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง ๓ คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน ๒๓๕ เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน ๑๙๘ เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง สำหรับผลการโหวตที่น่าสนใจ คือ พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ซึ่งภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือ นายอภิสิทธิ์ แสดงความยินดีด้วย
สำหรับ ส.ส.ในสังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
- นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต ๒ บุรีรัมย์
- นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต ๒ บุรีรัมย์
- นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.เขต ๑ พิษณุโลก
- นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.เขต ๔ บุรีรัมย์
- นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.เขต ๓ ขอนแก่น
- นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.เขต ๕ นครราชสีมา
- นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.เขต ๖ นครราชสีมา
- นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.เขต ๑ นครพนม
- นายวีระ รักความสุข ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
- นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
- นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๔
- นางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เขต ๑ เลย
- นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.เขต ๑ อุดรธานี
- นายสุชาติ โชคชัยวัฒนาการ ส.ส.เขต ๒ มหาสารคาม
- นายประจักษ์ แก้วกล้าหาญ ส.ส.เขต ๑ ขอนแก่น
- นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส.ส.เขต ๑ อำนาจเจริญ
- ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ งดออกเสียง โดยระบุว่า เพื่อความเป็นกลาง
ผลงานหนังสือมาร์ค เขาชื่อ… อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. ๒๕๔๘, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๙๓๓๕๘-๑-๙ การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๘๑๙๕-๑-๘ เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๗๓๑๐-๖๖-๕ ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๔๙๔-๘๑-๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น