วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๓

 

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


ประวัติของผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี
ชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตำแหน่งปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๗ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วันเกิด ๓  สิงหาคม ๒๕๐๗ อายุ ๔๖ ปี บิดา ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกราชบัณฑิตยสถาน มารดา ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ คู่สมรส ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตร-ธิดา น.ส.ปราง และ นายปัณณสิทธิ์ ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มัธยมศึกษา วิทยาลัยอีตัน ประเทศอังกฤษ ปริญญาตรี ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๔๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๓๘-๒๕๔๐ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๘ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง(รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
ปี ๒๕๓๘-๒๕๓๙  ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๔  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๘  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๙  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙/ ๒๕๕๑ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๔๘-ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๕๐-ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ธ.ค. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ปี ๒๕๓๕ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
ปี ๒๕๓๖ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ปี ๒๕๓๗ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
ปี ๒๕๔๐ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ปี ๒๕๔๑ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ปี ๒๕๔๒ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผลงานทางการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้พื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตาบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔๓ โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง
การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา ๗ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๕ เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยอ้างอิงความตามมาตรา ๗ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ข้อเสนอของ   นายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า มาร์คถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า มาร์ค ม.๗ในการเลือกตั้งวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ คดียุบพรรคและศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง ๓  คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน ๒๓๕ เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน ๑๙๘ เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง สำหรับผลการโหวตที่น่าสนใจ คือ พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ซึ่งภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือ นายอภิสิทธิ์ แสดงความยินดีด้วย
สำหรับ ส.ส.ในสังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
- นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต ๒ บุรีรัมย์
- นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.เขต ๑ พิษณุโลก
- นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.เขต ๓ บุรีรัมย์
- นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.เขต ๔ บุรีรัมย์
- นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.เขต ๓ ขอนแก่น
- นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.เขต ๕ นครราชสีมา
            - นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.เขต ๖ นครราชสีมา
            - นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.เขต ๑ นครพนม
           - นายวีระ รักความสุข ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
            - นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๓
            - นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม ๔
            - นางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เขต ๑ เลย
- นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.เขต ๑ อุดรธานี
- นายสุชาติ โชคชัยวัฒนาการ ส.ส.เขต ๒ มหาสารคาม
- นายประจักษ์ แก้วกล้าหาญ ส.ส.เขต ๑ ขอนแก่น
- นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส.ส.เขต ๑ อำนาจเจริญ
- ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ งดออกเสียง โดยระบุว่า เพื่อความเป็นกลาง
ผลงานหนังสือมาร์ค เขาชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. ๒๕๔๘, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๙๓๓๕๘--๙ การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๘๑๙๕--๘ เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๗๓๑๐-๖๖-๕ ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. ๒๕๕๐, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๘๔๙๔-๘๑-

กิจกรรมที่ ๒

 

 

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ ๒ ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
กิจกรรมที่ ๒
ระยะที่ ๑ ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๘๗:๑๙๔๕ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๒๕๔๒;๑๐) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น ๓ กลุ่มดังนี้
๑. กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ ๓ อย่าง 
๑.๑ เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
๑.๒ ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
๑.๓ หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
ระยะที่ ๒ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๕๘ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๒๕๔๒:๑๐) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ ๓ แนวทางดังนี้
. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง ๒ ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่าการเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๒๕๔๒:๒๕) การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ
ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
 ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ทฤษฏีความต้องการ ๕ ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต
ทฤษฏีความต้องการ ๕ ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ ๕ ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว
ทฤษฏีความต้องการความสัมฤทธิ์ผลของแมคเคลแลนด์ มนุษย์มีความต้องการ ๓ ด้าน ได้แก่ ความสำเร็จ อำนาจ และความต้องการทางสังคม
ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย ๓ ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง ๓ ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superego
ทฤษฏีสององค์ประกอบของเฟรเดอริค เฮอร์ซเบิร์ก แรงจูงใจของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยสองอย่าง ได้แก่ สิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและสิ่งที่ทำให้เกิดความพอใจ
 

กิจกรรมที่ ๑


 


กิจกรรมที่ 

ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ ๑ ของเว็บล็อกของนักศึกษา


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความหมายของการบริหารการศึกษา ( Educational Administration )
ความหมายของ การบริหารการศึกษา ( Educational Administration )”  โดยดูจากคำว่า การบริหารการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำสำคัญ ๒ คำ  คือคำว่า การบริหาร  ( Administration )” และ การศึกษา ( Education )”  ดังนั้นจะขอแยกความหมายของคำทั้งสองนี้ก่อน
ความหมายของคำว่า “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างสัก ๖ ความหมาย ดังนี้
การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร คือ  การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร คือ  กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ( Process of administration ) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
จากความหมายของ”การบริหาร”ทั้ง ๖ ความหมายนี้  พอสรุปได้ว่า  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
ส่วนความหมายของ การศึกษาก็มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
จากความหมายของ ”การศึกษา” ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า  การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด  ความสามารถ และความเป็นคนดี เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ ความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง 
ซึ่งมีส่วนคล้ายกับความหมายของ การบริหารการศึกษาที่มีผู้ให้ไว้ ดังนี้
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม  โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ดังนั้นจึงสรุปความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ได้ว่า  “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
จากสรุปความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ข้างบนนี้ อธิบายขยายความได้ว่า ที่หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน  อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย  รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับอธิบดีกรมต่างๆและครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ  และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น  การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย  และอื่นๆ  ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้รวมเรียกว่า “ภารกิจทางการบริหารการศึกษา”หรือ“งานบริหารการศึกษา” นั่นเอง

ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฎี 4 Ps
   .  Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)
   . People (บุคคล)
   . Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)
   . Product (ผลผลิต)
ถ้าหากจะแบ่งการบริหารออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. การบริหารราชการแผ่นดิน (Public Administration)
๒. การบริหารธุรกิจ (Bussiness Administration)
๓. การบริหารการศึกษา (Education Administration)

๑. Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์) การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกำไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน
. People (บุคคล)
๒.๑ ผู้ให้บริการ บุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นตัวอย่างแก่ผู้รับบริการหรือนักเรียน ซึ่งเป็นบุคคลที่แตกต่างไปจากผู้บริหารหรือบุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ
๒.๒ ผู้รับบริการ บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา ส่วนมากเป็นผู้เยาว์ หรือเด็กที่ต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป แต่บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ ส่วนมากเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว
. Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)
การบริหารการศึกษา มีกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพที่หลากหลาย และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นการรบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจจะนำกรรมวิธีทางการบริหารการศึกษาไปใช้ไม่ได้อีกด้วย
. Product (ผลผลิต)
ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา คือได้คนที่มีคุณภาพซึ่งเป็นนามธรรม คือเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้วสำเร็จการศึกษาออกไป จะได้เด็กที่มีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ และเป็นคนดี ซึ่งจะมองเห็นได้ยากเพราะเป็นนามธรรม แต่ผลผลิตทาง การบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่น มีถนนหนทาง มีคลองระบายน้ำ มีไฟฟ้ามีน้ำประปาใช้ มีผลผลิตทางการเกษตร มีผลกำไรเป็นตัวเงิน หรือเมื่อนำผลไม้เข้าไปในโรงงานจะได้ผลผลิตที่ออกจากโรงานเป็นผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ งานบริหารการศึกษา 
สำหรับภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ งานบริหารการศึกษา  มีผู้แบ่งไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
Edward W. Smith กับคณะ ได้แบ่งงานของผู้บริหารการศึกษาไว้ ๗ ประการ ด้วยกัน คือ
. งานวิชาการ
. งานบุคคล
. งานกิจการนักเรียน
. งานการเงิน
. งานอาคารสถานที่
. งานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
. งานธุรการ
นิสิตภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับงานบริหารการศึกษา  ได้จำแนกงานบริหารการศึกษา ออกเป็น ๕ ประเภท (โดยนำงานการเงิน งานอาคารสถานที่ และงานธุรการ ที่  Edward W Smith แบ่งไว้มารวมอยู่ในประเภทเดียวกัน) ซึ่งมีดังนี้
. งานวิชาการ
. งานบริหารบุคคล
. งานบริหารกิจการนักเรียน
. งานธุรการ การเงินและบริการ
. งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
จึงกล่าวได้ว่า ภารกิจในการบริหารการศึกษา หรืองานบริหารการศึกษา โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น ๕ ประเภท ด้วยกันคือ
. การบริหารงานวิชาการ
. การบริหารงานธุรการ
. การบริหารงานบุคคล
. การบริหารกิจการนักเรียน
. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
ขออธิบายขยายความงานบริหารการศึกษา ทั้ง ๕ ประเภท ดังนี้
๑. การบริหารงานวิชาการ  เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ การทำแผนการสอน การปรับปรุงการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน การประเมินผลการวัดผล และการนิเทศการสอน เป็นต้น  การบริหารการศึกษาเป็นการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ  คนจะมีคุณภาพคือมีความรู้ ความสามารถ ความคิด และความเป็นคนดีได้ จะต้องมีการเรียนการสอนหรือจะต้องมีการบริหารงานวิชาการ นั่นเอง การบริหารงานวิชาการจึงถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา  คงไม่ผิดนัก  ในสถาบันการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนต่างๆ จะมีฝ่ายวิชาการด้วย ซึ่งจะเรียกชื่อต่างๆกันไป เช่น รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, รองคณบดีฝ่ายวิชาการ, ผู้ช่วยผู้อำนวยการการฝ่ายวิชาการ หรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ เป็นต้น
๒. การบริหารงานธุรการ  เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวกับงานการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ งานสารบรรณ งานรักษาพยาบาล และงานบริการต่างๆ เป็นต้น  ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานที่สนับสนุนงานวิชาการอย่างมาก  เช่นงานวิชาการจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีอาคารสถานที่ มีห้องเรียน มีห้องปฏิบัติการ มีโต๊ะเก้าอี้ มีสื่อการสอนต่างๆ มีงานบริการให้ความสะดวกต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นบทบาทของการบริหารงานธุรการ นั่นเอง  การบริหารงานธุรการ จึงมีส่วนช่วยให้การพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้อย่างมาก เช่นกัน  บุคลากรที่ทำหน้าที่ฝ่ายธุรการในมหาวิทยาลัยมักจะใช้ชื่อว่า รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร, รองคณบดีฝ่ายบริหาร ( ถ้าใช้ ฝ่ายธุรการน่าจะถูกต้องมากกว่า)  ส่วนในโรงเรียนทั่วๆไป มักใช้ชื่อว่า  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ หรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายธุรการ เป็นต้น
๓. การบริหารงานบุคคล   เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวกับบุคคล เริ่มตั้งแต่ การสรรหาบุคคลมาทำงานหรือมาเป็นครู  การจัดบุคคลเข้าทำงาน การบำรุงรักษาและการสร้างเสริมกำลังใจในการทำงาน  การพัฒนาบุคคล และการจัดบุคคลให้พ้นจากงาน เป็นต้น  การบริหารงานบุคคลเป็นงานที่มีส่วนในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพอย่างมาก เช่นกัน เพราะในการสรรหาบุคคลมาทำงาน ถ้าสรรหาบุคคลที่เป็นคนเก่งคนดีมาเป็นครู  จัดครูเข้าสอนตามความรู้ความสามารถและความถนัดของเขา มีการพัฒนาครูให้เก่งให้เป็นคนดียิ่งขึ้นไป  ย่อมจะสอนนักเรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ถือว่ามีส่วนในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ นั่นเอง  ในมหาวิทยาวิทยาลัยบางแห่งมักจะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคคล คือผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ซึ่งขึ้นกับรองอธิการฝ่ายบริหาร  ในโรงเรียนต่างๆ ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ และผู้ช่วยฝ่ายธุรการจะร่วมกันบริหารงานบุคคล   เช่นการสรรหาบุคคลมาทำงาน การจัดบุคคลเข้าทำงาน การพิจารณาความดีความชอบ และการพัฒนาบุคคล เป็นต้น
๔. การบริหารกิจการนักเรียน  เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวกับนักเรียน เช่น การปฐมนิเทศนักเรียน การปกครองนักเรียน การจัดบริการแนะแนว การบริการเกี่ยวกับสุขภาพนักเรียน การจัดกิจกรรม และการบริการต่างๆ เป็นต้น  การบริหารกิจการนักเรียนถือว่าเป็นการพัฒนาบุคคลให้เป็นคนดี คนเก่ง ได้อย่างมากเช่นกัน  เช่น การปกครองให้เด็กมีระเบียบวินัย การจัดกิจกรรม กีฬา กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว เหล่านี้ล้วนทำให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง ยิ่งขึ้น  ในมหาวิทยาลัยจะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง คือ รองอธิการบดีฝ่ายนิสิต หรือรองอธิการบดีฝ่ายนักศึกษา  ในโรงเรียนทั่วๆไปจะมี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง หรือ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครอง  ถ้าหากจะเปลี่ยนมาใช้ ฝ่ายกิจการนักเรียนก็น่าจะตรงกับการบริหารงานกิจการนักเรียน อย่างยิ่ง
๕. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นการบิหารงานที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น การสอนให้นักเรียนนำความรู้ที่เรียนไปใช้ที่บ้านที่ชุมชน และเผยแพร่แก่คนรอบข้างคนในชุมชนด้วย  การช่วยแก้ปัญหาในชุมชน การให้นักเรียนเข้าไปเรียนหรือฝึกงานในชุมชน การเชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่างๆในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน เป็นต้น  การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนนี้ จะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพได้เช่นกัน  เพราะการให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้านและในชุมชน จะมีคุณภาพดีกว่าการเรียนเพื่อรู้อย่างเดียว  การเชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่างๆในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน หรือการให้นักเรียนเข้าไปเรียนหรือฝึกงานในชุมชน ย่อมจะทำให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์กว้างขวางยิ่งขึ้น  แสดงว่า การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน มีส่วนพัฒนาคนให้มีคุณภาพด้วย เช่นกัน  ส่วนบุคลากรที่ดำเนินงานด้านนี้ ย่อมมีหลายฝ่ายด้วยกัน ทั้งฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ และฝ่ายกิจการนักเรียน

งงานวิจัยเกี่ยวกับงานการบริหารการศึกษาทั้ง ๕ ประเภท
มีผู้ทำการวิจัยเกี่ยวกับงานการบริหารการศึกษาทั้ง ๕ ประเภทนี้ไว้มากพอสมควร  จึงขอนำมายกตัวอย่างไว้ดังนี้
จากการวิจัยเรื่อง “ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่รับนักเรียนชาวเขา สังกัดสำนักการประถมศึกษาจังหวัด : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดน่าน”  ของ กุลเชษฐ์  แก้ววี  พบว่า  โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่รับนักเรียนชาวเขา  สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน  มีปัญหาการบริหารงานทั้ง ๖ ด้าน  ปัญหาที่มีผู้ระบุไว้สูงสุดและรองลงมา ๒ อันดับ  มีดังนี้ 
๑.) ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ สื่อไม่เพียงพอและได้รับช้า  และการจัดการเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่ กับหนังสือเรียนได้รับช้า 
๒.) ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน  ได้แก่  นักเรียนออกกลางคัน นักเรียนขาดเรียน  และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 
๓.) ปัญหาการบริหารงานบุคลากร  ได้แก่ขาดครูในภาพรวม ขาดแคลนครูบางสาขา  และครูขาดความมั่นใจในการสอน 
๔.) ปัญหาการบริหารงานธุรการและการเงิน  ได้แก่  ได้รับครุภัณฑ์ล่าช้า ได้รับไม่ครบ ครุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานและไม่ตรงกับความต้องการการเบิกจ่ายเงินล่าช้า  และงานธุรการมีมากเกินไป 
๕.) ปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่  ได้แก่  จำนวนห้องเรียนและห้องพิเศษไม่เพียงพอ อาคารเรียนและห้องเรียนมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ห้องน้ำห้องส้วมไม่เพียงพอ  และไม่มีสนามกีฬา 
๖.) ปัญหาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ได้แก่  ผู้ปกครองไม่สนใจการศึกษาของนักเรียน ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ ผู้บริหารไม่มีเวลาอยู่โรงเรียน  และการติดต่อสื่อสารลำบากยุ่งยาก  (งานวิจัยเรื่องนี้  แยกการบริหารอาคารสถานที่ออกจากการบริหารงานธุรการ  งานบริหารการศึกษาจึงมี ๖ ด้าน)
จากวิทยานิพนธ์ที่ศึกษางานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูตามภาคต่างๆ คือ งานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูในภาคใต้ ของ ธงชัย มาศสุพงศ์, ในภาคกลาง ของ สุชาดา รัตนวิจิตร, ในกรุงเทพมหานคร ของ สัญญา สุรพันธุ์, ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของน้อย สุปิงคลัด  พบว่า ผู้บริหารในวิทยาลัยครูต่างๆค่อนข้างจะเห็นแตกต่างกัน ข้อที่ตรงกันคือ งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน งานนี้ทำมากเป็นอันดับห้า ซึ่งเป็นอันดับที่น้อยที่สุดในจำนวนงานทั้งหลาย  เกี่ยวกับงานวิชาการ –ผู้บริหารวิทยาลัยครูค่อนข้างจะเห็นตรงกันอยู่มาก คือ งานนี้ทำมากเป็นอันดับสาม  ส่วนอาจารย์ในวิทยาลัยครูต่างๆมีความเห็นตรงกันในสามอันดับแรก  คือผู้บริหารทำงานธุรการและการเงินมากเป็นอันดับหนึ่ง  ทำงานกิจการนักศึกษามากเป็นอันดับสอง  และทำงานวิชาการมากเป็นอันดับสาม จากการวิจัยเรื่อง “งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษาทั้ง ๑๒ เขต และกรุงเทพมหานคร” ของนิสิตภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า  งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง ๑๒ เขต และกรุงเทพมหานคร  ให้ความสำคัญต่อการบริหารงานธุรการการเงินและบริการ เป็นอันดับที่หนึ่ง ถึง ๖ เขต  รองลงมาคือ การบริหารงานบุคคล เป็นอันดับหนึ่ง ๕ เขต  การบริหารกิจการนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง ๓ เขต  ส่วนการบริหารงานวิชาการ ไม่มีอันดับหนึ่งเลย  และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นอันดับห้าทั้ง ๑๓ เขต  จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนมัธยมศึกษา ๑๓ เขต ให้ความสำคัญต่องานบริหารการศึกษาเรียงลำดับคือ  การบริหารงานธุรการ การเงิน และบริการ  การบริหารงานบุคคล  การบริหารกิจการนักเรียน  การบริหารงานวิชาการ  และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
จากการวิจัยเรื่อง การใช้เวลาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา ๑๑  ของ สมชาย  สุขชาตะ  นิสิตภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พบว่า การใช้เวลาของผู้บริหารในการบริหารงานทั้ง ๕ ด้าน  ตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ  งานบริหารด้านวิชาการ (๒๖.๘๑ %)  งานบริหารด้านธุรการ การเงินและอาคารสถานที่ (๒๒.๑๑%)  งานบริหารบุคคล (๒๑.๖๗%)  งานบริหารด้านกิจการนักเรียน (๑๕.๗๔%)  งานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (๑๓.๖๖%)
จากการวิจัยเรื่อง งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคใต้  ของ เฉลิม  แช่มช้อย  พบว่า  ผู้บริหารการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่มีความคิดเห็นว่า  โรงเรียนได้ปฏิบัติงานในเกณฑ์มาก ๓ ประเภท คือ  งานธุรการ การเงิน และบริการได้รับการปฏิบัติมากที่สุด  รองลงมาได้แก่ งานวิชาการ และงานบุคคล ตามลำดับ  ส่วนงานกิจการนักเรียนนั้นได้รับการปฏิบัติน้อย  และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนได้รับการปฏิบัติน้อยที่สุด
จากการวิจัยเรื่อง “การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา”  ของ กนกพร  ทองเจือ  พบว่า  ในการบริหารการศึกษา ๖ ด้าน คือ งานวิชาการ, บุคลากร, งานธุรการและการเงิน, งานอาคารสถานที่, งานกิจการนักเรียน และงานความสัมพันธ์กับชุมชน  ครูมีความเห็นต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยส่วนรวมทั้ง ๖ด้าน  อยู่ในระดับปานกลาง  ยกเว้นการปฏิบัติงานด้านธุรการและการเงินอยู่ในระดับมาก
จากตัวอย่างงานวิจัยทั้งหมดนี้  ในภาพรวมจะพบว่า  การบริหารงานธุรการจะได้รับการปฏิบัติมากที่สุด  ส่วนการบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชนจะได้รับการปฏิบัติน้อยที่สุด  อันที่จริงการบริหารการศึกษา เกี่ยวกับงานทั้ง ๕ ด้านนี้ควรได้รับการปฏิบัติให้เท่าเทียมกัน  เพราะการบริหารการศึกษา เป็นการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ  การที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น  การบริหารงานวิชาการเป็นการจัดการเกี่ยวเรียนการสอน  ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดและเป็นคนดี หรือพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพได้นั้น  จะต้องมีการบริหารงานอีก ๔ ด้านมาช่วยด้วย  เช่น การบริหารงานธุรการ คือจัดหาพัสดุครุภัณฑ์  จัดอาคารสถานที่ และอื่น ๆเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคล่องตัวขึ้น  การบริหารงานบุคคล ก็ต้องสรรหาครูที่มีคุณภาพมาสอน  ต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป  เพราะครูต้องมีคุณภาพ จึงจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้  ส่วนการบริหารกิจการนักเรียน  ก็คือการปกครองนักเรียนให้เป็นคนดีมีวินัย  การจัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียน  มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดียิ่งขึ้น  สำหรับการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ก็มีส่วนช่วยพัฒนาคนเช่นกัน  เช่น การให้นักเรียนฝึก งานในชุมชน  การช่วยแก้ปัญหาในชุมชน การเชิญบุคลากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน  การประสานงานกับผู้ปกครองให้สนใจการศึกษาของนักเรียน เป็นต้น  จึงเห็นได้ว่าการบริหารงานทั้ง ๕ ด้าน ต้องสัมพันธ์กัน ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกันและเท่าเทียมกัน  การพัฒนาคนจึงจะมีคุณภาพ

บรรณานุกรม

กนกพร ทองเจือ. การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษา จ.นครราชสีมา ปริญญานิพนธ์เสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๓๘.
กุลเชษฐ์  แก้ววี.  ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่รับนักเรียนชาวเขา  สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : การศึกษาเฉพาะ
กรณีจังหวัดน่าน  วิทยานิพนธ์เสนอต่อคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
เฉลิม  แช่มช้อย,  งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดกรมสามัญศึกษา
กระทรวง ศึกษาธิการ  ในภาคใต้,  ปริญญานิพนธ์เสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ  ประสานมิตร, ๒๕๑๙.
ถวิล  เกื้อกูลวงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ ทฤษฎี วิจัย
และการปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๓๐.
ทองอินทร์  วงศ์โสธร, ดร., ทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสถาบันครุศึกษา
ในสมาคมผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ประมวลบทความทางบริหารการ
ศึกษา,  กรุงเทพมหานคร,  รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, ๒๕๒๒.
สมชาย  สุขชาตะ, บทสรุปผลงานวิจัย การใช้เวลาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา ในเขตการศึกษา ๑๑ใน  ครุศาสตร์ ๒๔ ปี ๑๐ ก..  ๒๕๒๔  รวมบทความทางวิชาการและบทสรุปผลงานวิจัย, กรุงเทพมหานคร, คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔.
สาโรช  บัวศรี, ศาสตราจารย์ ดร. “การศึกษา  ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์
ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ
ในมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ๕ รอบ  คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๓๕.
สุรพันธ์  ยันต์ทอง, รองศาสตราจารย์.  การบริหารโรงเรียน นวัตกรรม เทคนิค ประสบการณ์
หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมการฝึกหัดครู, ๒๕๓๓.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. บัณฑิตศึกษา  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์,  ประมวลสาระ
ชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ ๘-๙  กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๖.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, เอกสารการสอนชุดวิชาหลัก
และระบบบริหารการศึกษา  หน่วยที่  ๑-๕, กรุงเทพมหานคร, อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๓๓.
หวน พินธุพันธ์,รองศาสตราจารย์  การบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน,กรุงเทพมหานคร, ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรบัณฑิต, ๒๕๒๙.